Categories
News

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่เร่งรีบของคนในยุคนี้ ทำให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โดยพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่มักมีอาการเป็นๆ หายๆ มากถึง 80%

แม้ว่าโรคกระเพาะอาหารอักเสบจะไม่ใช่โรคที่รุนแรง แต่ผู้ป่วยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะว่าหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดไหลในกระเพาะอาหาร จนเกิดภาวะแทรกซ้อน อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย!!!

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

มีหลากหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุ อาจเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้กลไกการป้องกันตัวเองของกระเพาะเสียไป เจ้าเชื้อนี้ มีชื่อว่า “Helicobacter pylori (H. pylori)” เป็นเชื้อที่อาศัยอยู่บนเยื่อบุอาหาร เพิ่มความเสี่ยงของการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารได้

นอกจากนี้พฤติกรรมของเรา เช่น การดื่มเหล้า ชา กาแฟ การสูบบุหรี่ รวมถึงความเครียด การอดอาหารหรือทานอาหารไม่เป็นเวลา ส่งผลให้กลไกการทำงานของกระเพาะอาหารเสียไป กระตุ้นให้กรดหลั่งเยอะขึ้น เมื่อหลั่งเยอะขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะ

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

-ปวด จุกแน่นท้อง แสบ หรือรู้สึกตื้อ อิ่มเร็ว อาการจะเกิดบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือช่องท้องส่วนบน เหนือต่อสะดือ เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่าง เวลาอิ่มหรือเวลาหิว อาการจึงเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน
-อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด หรือยาปรับการทำงานของกระเพาะอาหาร
-อาการปวด มักจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
-บางราย ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
-แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม
-โรคแผลกระเพาะอาหารจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม นอกจากจะเป็นแผลชนิดที่เกิดจากโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารตั้งแต่แรกเริ่มโดยตรง++

การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบสามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ดี และผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเอง แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติท เช่น การตรวจโดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Gastroscope: EGD) เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง ดังนี้

-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและโภชนาการ ได้แก่ รับประทานอาหารตรงเวลาทุกมื้อ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
-งดสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
-ไม่เครียดหรือวิตกกังวล และพักผ่อนให้เพียงพอ
-รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ
-ไม่ซื้อยารับประทานเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร